เมื่อตัดสินใจจะประกอบธุรกิจ จะจดทะเบียนแบบไหนเรามีคำตอบ
บุคคลธรรมดา
ธุรกิจเจ้าของคนเดียว การตัดสินใจอยู่ที่บุคคลคนเดียว ง่าย และรวดเร็ว กำไร และ ขาดทุนจากการประกอบธุรกิจก็รับคนเดียว เหมาะกับบุคคลที่มีสภาพคล่องทางการเงินสูง เพราะไม่สามารถระดม ทุนจากใครได้
การจัดทำบัญชี การทำบัญชียื่นต่อกรมสรรพากร 2 ครั้ง คือ ภาษีครึ่งปี ใช้แบบ ภ.ง.ด. 94 และภาษีสิ้นปี ใช้แบบ ภ.ง.ด. 90
การเสียภาษี มี 2 แนวทางคือ ใช้อัตราก้าวหน้า ไม่เกิน 37% ของรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน รายได้มากก็เสียมาก และ อีกอย่างคือ เสียตามอัตราเหมา ธุรกิจแต่ละประเภทจะไม่เหมือนกัน ต้องใช้ค่าใช้จ่ายจ่ายจริง และต้องมีเอกสารประกอบรายการจริงๆและถูกต้องตามที่สรรพากรกำหนด
นิติบุคคล
เป็นรูปแบบที่บุคคลสองคนขึ้นไป ตกลงทำธุรกิจร่วมกัน โดยมีวัตถุประสงค์จะแบ่งผลกำไร ตามอัตราส่วนที่แต่ละคนได้ลงทุน แบ่งได้ดังนี้
1. ห้างหุ้นส่วนสามัญ
-
ลักษณะแบบนี้ ไม่จำเป็นต้องเป็นนิติบุคคล
-
ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดชอบหนี้สินไม่จำกัดจำนวน
-
ถ้าไม่จดทะเบียนจะมีลักษณะเป็นคณะบุคคล ถ้าจดทะเบียนจะมีลักษณะเป็นนิติบุคคล คือ ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
การจัดทำบัญชี ถ้าไม่จดทะเบียน การจัดทำบัญชีจะเหมือนกับบุคคลธรรมดาคือ ปีละ 2 ครั้ง ภาษีครึ่งปี และภาษีสิ้นปี ดังที่กล่าวไว้ในบุคคลธรรมดา ถ้าจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลก็ต้องจัดทำบัญชีปีละ 2
ครั้งเหมือนกัน แต่ ยื่นแบบคนละตัว
การเสียภาษี ถ้าไม่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล การเสียภาษีจะเหมือนกับบุคคลธรรมดา แต่ถ้า จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล จะเสียภาษีตามภาษีนิติบุคคล
2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด
-
ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเท่านั้น
-
มีหุ้นส่วน 2 ประเภท คือ หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด หุ้นส่วนประเภทนี้จะรับผิดชอบหนี้ของห้างฯที่เกิดขึ้นทั้งหมด โดยไม่จำกัด และหุ้นส่วนประเภทนี้สามารถเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการได้
- และหุ้นส่วนจำกัดความรับผิด รับผิดในหนี้เพียงไม่เกินทุนที่ลงไปเท่านั้น ไม่สามารถเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการได้
การจัดทำบัญชี ต้องจัดหาคนทำบัญชีตามที่กฎหมายกำหนด ถ้าไม่มีจะระวางโทษปรับ การยื่นภาษีต้องยื่นปีละ 2 ครั้ง คือ ภาษีครึ่งปี ภ.ง.ด. 51 และ ภาษีสิ้นปี ภ.ง.ด.50
การเสียภาษี คำนวณจากรายได้หลังหักค่าใช้จ่าย อัตราภาษีเริ่มต้นจาก 15% - 30% สำหรับธุรกิจ sme ที่มีทุนชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาท
3. บริษัทจำกัด
- แบ่งเงินลงทุนออกเป็นหุ้น มูลค่าหุ้นละเท่าๆกัน
- ผู้เริ่มก่อการไม่น้อยกว่า 7 คน
- ผู้ถือหุ้นรับผิดชอบไม่เกินจำนวนค่าหุ้นที่ตนยังส่งไม่ครบ
- สามารถระดมทุนได้ง่าย และมีความน่าเชื่อถือมากที่สุด
การจัดทำบัญชีและการเสียภาษี จะเหมือนกับของห้างหุ้นส่วนจำกัด
ข้อแตกต่างระหว่างห้างหุ้นส่วนจำกัด กับ บริษัท
1. การก่อตั้ง การตั้งห้างหุ้นส่วน จะจดทะเบียนหรือไม่ก็ได้แต่ถ้าจดทะเบียนจะมีฐานะเป้นนิติบุคคล
(ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด) ส่วนการตั้งบริษัทจำกัดนั้นกฎหมายกำหนดให้ต้องจดทะเบียนเสมอ
2. จำนวนสมาชิก บริษัทต้องมีผู้ถือหุ้นอย่างน้อย 3 คน และผุ้ถือหุ้นจะรับผิดจำกัดในหนี้สินของบริษัท
เพียงไม่เกินจำนวนเงินค่ามูลค่าหุ้นที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบเท่านั้น ส่วนห้างหุ้นส่วนกฎหมายไม่ได้กำหนดว่าต้องมีผุ้ถือหุ้นกี่คน แต่หุ้นส่วนของห้างจะต้องรับผิดไม่จำกัดเว้นแต่จะจดทะเบียนเป้นห้างหุ้นส่วนจำกัด หุ้นส่วนจะรับผิดจำกัดเท่ากับที่ตนแจ้งไว้ว่าจะลงในห้างเหมือนบริษัท แต่หุ้นส่วนผู้จัดการจะต้องเป้นหุ้นส่วนที่ไม่จำกัดความรับผิดเท่านั้น
3. สภาพความเป้นนิติบุคคล บริษัทจำกัดสามารถถือครองกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์ต่างๆ หนี้สิน
ทำสัญญา และดำเนินธุรกิจได้ด้วยตนเอง ในนามของบริษัทเองโดยตัวแทนของกิจการ ส่วนห้างหุ้นส่วน
นั้นถ้าจดทะเบียนก็จะมีสภาพเช่นเดียวกันกับบริษัท
4. วัตถุประสงค์ ทั้งห้างหุ้นส่วนและบริษัทก็หวังที่จะได้กำไรจากการลงหุ้น แต่บริษัท ผู้ถือหุ้นอาจ
ไม่ได้ต้องการผลกำไรจากการดำเนินงานของตัวกิจการโดยตรงแต่หวังที่จะได้ส่วนต่างกำไรจากการขายหุ้นก็ได้
5. สิ่งที่นำมาลงเป้นหุ้น ห้างหุ้นส่วนสามารถที่จะนำเงิน สินทรัพย์ หรือแรงงานมาลงทุนก้ได้ แต่บริษัท
ต้องลงหุ้นเป็นเงิน เว้นแต่กรณีบริษัทออกหุ้นเพื่อแทนคุณแรงงาน หรือเป็นการแลกเปลี่ยนกับสินทรัพย์ ก็ทำได้
6. การโอนเปลี่ยนมือ บริษัทผู้ถือหุ้นสามารถขายหุ้นให้ใคร หรือยกให้ใครก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องได้
รับความยินยอมจากผู้ถือหุ้นคนอื่นก่อน แต่ถ้าเป็นห้างหุ้นส่วน หุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดต้อง
ได้รับความยินยอมจากหุ้นส่วนคนอื่นเสียก่อนจึงจะเปลี่ยนแปลงได้ เพราะคุณสมบัติของผุ้เป็นหุ้นส่วน
ประเภทนี้ถือว่ามีสาระสำคัญ
7. บริษัทสามารถทำการขยายทุนได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มทุน หรือออกหุ้นกู้
8. การเสียภาษี นิติบุคคลจะเสียจากรายได้หักค่าใช้จ่ายต่างๆ ออกแล้ว ตามกฎหมายกำหนด